วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

หม่อมราโชทัย "นิราศลอนดอน"

                                              นิราศลอนดอน  ของ  หม่อมราโชทัย
ผู้แต่ง  หม่อมราโชทัย(ม..  กระต่าย  อิศรางกูล )
ประวัติหม่อมราชโชทัย
                หม่อมราโชทัย  นามเดิม  หม่อมราชวงศ์กระต่าย   อิศรางกูรเป็นบุตรของกรมหมื่นเทวานุรักษ์    (หม่อมเจ้าชอุ่ม   อิศรางกูร) เป็นปนัดดาของสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนอิศรานุรักษ์ และสมเด็จพระศรีสุริเยนทรา  พระราชินีในรัชกาลที่๒ เป็นปนัดดาของสมเด็จเจ้าฟ้า  กรมพระศรีสุดารักษ์  ซึ่งเป็นพระพี่นางในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
            หม่อมราชวงศ์กระต่ายเกิดเมื่อวันที่๑๒ มิถุนายน  พุทธศักราช ๒๓๖๓ เมื่อเจริญวัยบิดาได้นำไปถวายตังอยู่กับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว    เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎสมมุติเววาวงศ์พงศาอิศวรกระกษัตริย์ขัตติยราชกุมาร   หม่อมราชวงศ์กระต่ายได้อยู่รับใช้ในพระองค์ท่านตลอดมาด้วยเป็นญาติใกล้ชิดทางพระราชมารดาในเจ้าฟ้ามงกุฎ  เมื่อเจ้าฟ้ามงกุฎทรงผนวชมีฉายาว่า วชิรญาณ หม่อมราชวงศ์กระต่ายก็ได้ตามเสด็จไปอยู่รับใช้โดยตลอด   ครั้นเมื่อเจ้าฟ้ามงกุฎทรงสนพระราชหฤทัยใฝ่การศึกษาภาษาอังกฤษ   หม่อมราชวงศ์กระต่ายก็ได้ศึกษาตามพระราชนิยม   โดยได้ศึกษากับพวกหมอสอนศาสนามิชชันนารีจนมีความรู้ภาษาอังกฤษดี  ถึงกับเจ้าฟ้ามงกุฎทรงใช้อย่างเลขานุการสำหรับเชิญกระแสรับสั่งไปพูดจากับชาวต่างชาติ  เมื่อเจ้าฟ้ามงกุฎได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๔  หม่อมราชวงศ์กระต่ายก็ได้ติดตามสมัครเข้ารับราชการสนองพระมหากรุณาธิคุณ   และด้วยจากความสามารถช่วยราชกิจได้ดีมีความชอบต่อราชการ  จึงได้รับพระราชทานเลื่อนอิสริยยศขึ้นเป็น ‘หม่อมราโชทัย   เพราะความรู้ภาษาอังกฤษดีนี้เอง  เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้จัดส่งราชทูตเชิญพระราชสาสน์และเครื่องมงคลราชบรรณาการไปถวายสมเด็จพระราชินีวิกตอเรีย  พระเจ้าแผ่นดินอังกฤษ  จึงโปรดเกล้าฯ  ให้หม่อมราโชทัยเป็นล่ามหลวงไปในคณะราชทูต  ภายหลังที่กลับมาจากประเทศอังกฤษแล้ว   ในเวลานั้นผลของสัญญาการเจริญทางพระราชไมตรีกับนานาประเทศในยุโรปทำให้ไทยเราต้องจัดตั้งศาลต่างประเทศขึ้น  ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้หม่อมราโชทัยราชเลขานุการในพระองค์   ขึ้นเป็นอธิบดีพิพากษาศาลต่างประเทศเป็นคนแรก
                หม่อมราโชทัยถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม  พุทธศักราช๒๔๑๐   เมื่ออายุ๔๗ปี  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้จัดการรับพระราชทานเพลิง  ณ  เมรุวัดอรุณราชวราราม  เมื่อวันที่๑๙ กันยายน  พุทธศักราช  ๒๔๑๐
                เกียรติประวัติของหม่อมราโชทัยปรากฏอยู่ในวรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ในฐานะผู้แต่งและกวีคนแรกๆ  ที่มีฝีปากในการสร้างสรรค์สารคดีเชิงบันทึกการท่องเที่ยว  ทั้งที่เป็นร้อยแก้วและกวีนิพนธ์
                                                        (สถาบันภาษาไทย  กรมวิชาการ  กระทรวงศึกษาธิการ. ๒๕๓๙:๑๒)
ปีที่แต่ง  แต่งเมื่อราวได้เดินทางไปกับคณะทูตไทยเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับอังกฤษ  ในปีมะเส็ง        จุลศักราช  ๑๒๑๙(พ..๒๔๐๐)
จุดมุ่งหมายในการแต่ง    เพื่อบันทึกเห็นการในการเดินทางไปประเทศอังกฤษเป็นครั้งแรกของประวัติศาสตร์ชาติไทย  ตามพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๔  ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงเล็งเห็นการณ์ไกลในทางที่จะจรรโลงประเทศชาติ  ทั้งยังต้องนำประเทศฝ่ามรสุมทางการเมืองให้พ้นกับประเทศมหาอำนาจเรือปืนของต่างชาติอีกด้วย  จึงมีพระราชดำริที่จะเปิดประเทศ  รับอารยธรรมของนานาชาติที่เจริญกว่ามาบำรุงพัฒนาประเทศให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองมั่นคง  เสริมสร้างความมั่นคง และความสงบสุขของปวงประชาราษฎร์       ต่อมาหนังสือนี้ได้ขายลิขสิทธิ์ให้แก่หมอบรัดเลย์เป็นจำนวน๔๐๐ บาท  ในปีพ..๒๔๐๔   และได้แสดงเจตนาการเขียนไว้ตอนท้ายนิราศดังบทประพันธ์ต่อไปนี้
                                                                “บางยลบางเรื่องรู้             รหัศการ    
                                                จึงนิพนธ์พจนสาร                                           สืบไว้    
                                                สำหรับแผ่นดินนาน                       เนาเนื่อง   ไปเอย                                                                                               คนเกิดภายหลังได้                                  อ่านแจ้งอนุสนธิ์”

                                                                (หม่อมราโชทัย. ๒๕๕๓: ๑๓๘) 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น